ปรับปรุงล่าสุด 23 ธ.ค. 2021 03:42:12 884

 

อำนาจหน้าที่ของกองช่าง

ส่วนโยธา – ข้อมูลสำหรับประชาชน

     ส่วนโยธา มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของ อบต. เช่น งานอาคาร ถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ และงานชลประทาน ตลอดจน งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ

งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานควบคุมการก่อสร้าง สะพาน อาคาร และงานชลประทาน
- งานก่อสร้างและบูรณะถนน
- งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ
- งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม
- งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสำรวจออกแบบ
- งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์
- งานวิศวกรรม
- งานประเมินราคา
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร บริการข้อมูลและหลักเกณฑ์
- งานออกแบบ และเขียนแบบ
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
- งานตรวจตราสถานประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542

งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานซ่อมบำรุงไฟฟ้าสาธารณะ
- งานประสานและสาธารณูปโภคและกิจการประปา
- งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร
- งานระบายน้ำ
- งานจัดตกแต่งสถานที่

งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสำรวจรวบรวมข้อมูลด้านผังเมือง
- งานสำรวจและแผนที่
- งานวางผังพัฒนาเมือง

ส่วนโยธา - คู่มือ อบต.

     ส่วนโยธา มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตาม โครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ
ส่วนโยธา
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและ เขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล รวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงาน เครื่องจักรกล การควบคุมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุมเก็บรักษาการเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า
(กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน)
3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร
5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม
6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง
7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)

การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
เอกสารประกอบการแจ้ง
การแจ้งการประกอบกิจการ ให้แจ้งพร้อมเอกสาร หลักฐานต่างๆตามแบบ ธพ.น.1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยแจ้งสำนักงานส่วนท้องถิ่นดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง (กรณีบุคคลธรรมดา)
2. หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ ลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 180 วัน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)
3. สำเนา โฉนดที่ดิน น.ส.3 น.ส.3ก ส.ค.1 หรือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินอื่นๆ
4. สำเนาเอกสารแสดงว่าผู้แจ้งมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน หรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ ดูแลรับผิดชอบที่ดิน ให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2
5. สำเนาหรือหนังสืออนุญาต พร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทำทางเชื่อมระหว่างบริเวณที่ได้รับอนุญาต กับถนนสาธารณะ ทางหลวง เพื่อใช้เป็นทางสำหรับยานพาหนะ เข้า-ออก สถานที่บริเวณน้ำมันเชื้อเพลิง
6. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ พร้อมทั้งแสดงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในรัศมี 50.00 เมตร จำนวน 3 ชุด
7. แผนผังบริเวณของสถานที่ประกอบกิจการ จำนวน 3 ชุด
8. แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เหมือนพื้นดินขนาดใหญ่พร้อมระบบท่อและอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด
9. รายการคำนวณ ความคงที่แข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนพื้นดินขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด
10. หนังสือรับรองจากวิศวกรสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้คำนวณความมั่นคงแข็งแรง ระบบความปลอดภัย และระบบควบคุมมลพิษของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนพื้นดินขนาดใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ พร้อมทั้งแบบสำเนา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จำนวน 1 ชุด